นโยบายความเป็นส่วนตัว

นโยบายความเป็นส่วนตัวของแอปพลิเคชัน CAN DO

  1. แอปพลิเคชัน CAN DO ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ที่เป็นนักเรียนสามารถเรียนรู้การเขียน CODE แบบง่ายๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญในอนาคต
  2. ข้อมูลชื่อตัวละคร ระบบจะบันทึกเก็บเอาไว้ในสมาร์ทโฟนของผู้เล่นเท่านั้น ไม่มีการส่งออกข้อมูลของผู้เล่น ไปยังเซิฟเวอร์แต่อย่างใด เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้เล่น
  3. การตกแต่งตัวละครจะไม่มีการเก็บสถิติใดๆ เป็นเพียงการเก็บบันทึกลงในสมาร์ทโฟนของผู้เล่นเท่านั้น
  4. กิจกรรมต่างๆ และเวลาในการเล่นจะบันทึกลงในสมาร์ทโฟนของผู้เล่นเท่านั้น
  5. ภาระกิจต่างๆ ในแอปพลิเคชัน ที่ผู้เล่นได้เล่นไป จะเป็นการบันทึกลงในสมาร์ทโฟนของผู้เล่นเท่านั้น
  6. แอปพลิเคชันนี้ไม่มีโฆษณา หรือภาพที่มีความไวต่อแสง เพื่อให้ผู้เล่นมีความปลอดภัยในการใช้งาน
  7. แอปพลิเคชันนี้ ควรเล่นกับผู้ปกครอง และมีผู้ปกครองให้คำแนะนำ

หลักการและเหตุผล แอปพลิเคชันส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการคิดอย่างมีขั้นตอน Coding and Programming learning skill

เด็กในปัจจุบันนี้เติบโตขึ้นมาในช่วงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงมากยิ่งกว่าที่ผ่านมา วิทยาการเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ได้ส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตอย่างไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หุ่นยนต์ เทคโนโลยีการแพทย์ ควอนต้มคอมพิวเตอร์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาช่วยให้การดำเนินชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น ที่เห็นได้ชัดเจนเป็นรูปธรรมมากที่สุดคือ การสื่อสาร การใช้จ่าย การทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านแอปพลิเคชัน ฯลฯ

ผลจากการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีครั้งนี้ ส่งผลกระทบให้หลายองค์กรต้องเกิดการแข่งขันกันที่สูงมากยิ่งขึ้นกว่าในอดีต ดังนั้นการทำงานในปัจจุบันและอนาคตจึงต้องการทักษะของแรงงานผู้ที่มีความสามารถในการทำงานที่จัดการข้อมูลซับซ้อน การแก้ไขปัญหา และประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการคิดอย่างมีขั้นตอน หรือการคำนวณได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า การทำงานในหลายอาชีพล้วนแล้วต้องมีการใช้เทคโนโลยีทั้งสิ้น จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การเรียนรู้ทักษะด้านภาษาคอมพิวเตอร์จึงมีความสำคัญยิ่ง ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป หรือเฉพาะแต่ผู้ที่มีความสนใจแต่ในด้านเทคโนโลยีเท่านั้น

จากผลการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้หลายประเทศได้เริ่มส่งเสริมให้มีการศึกษาด้านทักษะการคำนวณมากขึ้น สำหรับการศึกษาของประเทศไทย พ.ศ. 25461 ได้เริ่มมีการส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนพื้นฐานการเรียนรู้และพัฒนาการคิดอย่างมีขั้นตอน คือวิชาเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) หรือที่รู้จักกันทั่วไปคือ โค้ดดิ้ง (Coding) โดยการนำของดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ

Coding คือ ส่วนหนึ่งของหลักสูตรวิทยาการคำนวณที่บรรจุอยู่ในสาระเทคโนโลยี กลุ่มสาระเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เป้าหมายโดยรวมของหลักสูตรวิทยาการคำนวณ มุ่งเน้นให้นักเรียนฝึกคิดอย่างเป็นระบบ ค้นเจอปัญหาและเงื่อนไข รู้เหตุและผล เข้าใจกระบวนการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นทักษะสำคัญและจำเป็นสำหรับเด็กในศตวรรษใหม่

เมื่อเด็กไทยได้รับการศึกษาให้มีพื้นฐานทักษะด้าน Coding จะเป็นผู้ที่มีทักษะความสามารถด้านดิจิทัล (Digital Competence) คือ สามารถสร้างสรรค์ จัดการแลกเปลี่ยนชุดข้อมูล แก้ปัญาหา เนื่องจากการเรียนรู้ด้าน Coding ช่วยให้ทำงานร่วมกันรับต่อการเปลี่ยนแปลง ทางเทคโนโลยีได้ สามารถแข่งขันได้ เป็นการปูพื้นฐานการปฏิรูปการศึกษาไปถึงเด็กทุกคนโดยไร้ขอบเขตและลดความเหลื่อมล้ำ

“Coding กับการศึกษาพิเศษ เพราะการศึกษาไทย จะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสสามารถเรียนรู้ Coding ได้อย่างเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จะจัดการเรียนการสอน Coding สำหรับครูผู้สอน รวมถึงเด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ให้มีทักษะชีวิตที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้ อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข มีศักดิ์ศรี มีคุณภาพชีวิตที่ดี” ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศึกษาธิการ

จากแนวคิดของคุณครูกัลยาซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้คณะทำงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการคิดอย่างมีขั้นตอน Coding and Programming learning skill มหาวิทยาลัยรังสิต มาพัฒนาเป็นนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เพื่อปูพื้นฐานด้านวิทยาการคำนวณ Coding สำหรับเด็กพิเศษ ให้มีความเพลิดเพลิน มีทักษะเข้าใจวิธีคิดด้วยการฝึกใช้ชุดคำสั่งเบื้องต้น ก่อนที่จะได้รับการศึกษา Coding ในลำดับขั้นต่อไป การศึกษาวิชาที่เกี่ยวกับทักษะไม่ว่าแขนงใด การปูพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากผู้เรียนไม่มีทักษะพื้นฐานที่เข้าใจ จึงยากที่จะสามารถพัฒนาไปต่อได้ แอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการคิดอย่างมีขั้นตอน Coding and Programming learning skill นี้เหมาะสำหรับการสอนให้เด็กพิเศษ หรือเด็กทั่วไปที่กำลังเริ่มทำความรู้จักการเรียนรู้พื้นฐาน Coding