เมื่อพูดถึง AR Code แล้ว หลายคนคงมีประสบการณ์ที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป อยู่ที่เครื่องมือที่เคยใช้งาน แต่ในปัจจุบันสมาร์ทโฟนมีความสามารถในการใช้งานที่สูงมาก เมื่อเทียบกับแต่ก่อน แทบจะเข้ามาแทนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือโน๊ตบุ๊คไปเลย แอปพลิเคชั่นที่รองรับ AR Code มีมากมายหลากหลายให้เลือกใช้งาน เช่น AR Code กับหนังสือเรียน, AR Code กับสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรืออื่นๆ เป็นต้น
AR Code กับหนังสือเรียนทำให้เด็ก ๆ เข้าถึงบทเรียนได้ง่ายมากขึ้น
นิติคุณ ยุกตะนันท์ CEO,
จากตัวอย่างเป็น AR Code รูปแบบ Marker กล่าวคือเป็นจากใช้แอปพลิเคชั่น สแกนที่หนังสือเรียน โดยผู้ใช้งานต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นผ่าน WiFi ให้เสร็จก่อน จึงจะใช้งานได้ และข้อดีของการดาวน์โหลดครั้งเดียวเสร็จ จะทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตอีกในการใช้งาน การใช้ AR Code กับหนังสือเรียนจึงเหมาะสบกับการใช้งานลักษณะนี้ เพราะถ้าใช้งานผ่านสัญญาณอินเตอร์เน็ตทุกครั้ง อาจจะเป็นอุปสรรค์ต่อนักเรียนที่ ไม่มีสัญญาณอินเตอร์ที่บ้าน หรือที่โรงเรียน
ค่าใช้จ่ายในการสร้างแอพพลิเคชั่น AR Code ในรูปแบบ Offline นี้จะต้องดูที่ฟังชั่นการใช้งานเป็นหลัก และอนิเมชั่นที่แสดงโดยต้องดูรายละเอียดดังต่อไปนี้
ลำดับ | ฟังชั่นต่าง ๆ | รายละเอียด |
1 | หน้าตาของแอปพลิเคชัน AR Code | ส่วนใหญ่จะใช้หน้าปกของหนังสือมาออกแบบ เพื่อให้ลักษณะรูปแบบ ไปในแนวทางเดียวกัน |
2 | ฟังชั่น ล๊อกโมเดล | การที่ผู้ใช้งานสแกน AR Code แล้ว หันหน้ากล้องไปทางอื่น โมเดลที่อยู่บนหน้ากระดาษจะมาปรากฏ กลางหน้าจอแทน |
3 | ฟังชั่น หมุน-ย่อขยาย | เมื่อเนื้อหาอนิเมชั่น เป็นสามมิติ ผู้ใช้งานควรที่จะ หมุน โมเดลไปมาได้ เพื่อที่จะได้ดูรอบด้าน 360 องศา |
4 | ฟังชั่น การหมุนกล้อง | เพื่อที่จะ ก้มเงย โมเดลขึ้นลง ทำให้มีมุมมองที่มากกว่า การหมุนโมเดลไปทาง ซ้าย หรือ ขวา |
5 | ฟังชั่น ถ่ายรูป | การถ่ายรูป อาจจะจำเป็นเพื่อการประชาสัมพันธ์ ให้ผู้ใช้งานเอารูปที่ถ่ายในแอปพลิเคชันไปเผยแพร่ ต่อไปในสื่อโซเชียลมีเดียอื่น ๆ เช่น Facebook หรืออื่น ๆ |
6 | ฟังชั่น นับจำนวนคนใช้งาน | เป็นฟังชั่นที่จำเป็นมาก ๆ เพราะว่าการนับจำนวนคนใช้งาน จะทำให้เรารู้ได้ว่า AR Code นั้น ๆ มีคนดูจำนวนมากน้อยขนาดไหน และจุดที่มีคนใช้งานจำนวนมาก จะทำให้เรารู้แนวทาง และการพัฒนาต่อไปในอนาคต |
7 | หน้าวิธีการใช้งาน | หน้าวิธีการใช้งาน ถูกบังคับใช้ในระบบ iOS พร้อมกับภาพตัวอย่าง Marker ตามข้อบังคับของ Apple ที่ผู้ใช้งานต้องได้เห็นภาพ Marker ตัวอย่าง เราไม่จำเป็นต้องใส่ทั้งหมด อาจจะเป็นเพียงแค่รูปตัวอย่าง 1 รูปก็พอ |
8 | หน้าข้อระเบียบการใช้งานสำหรับเด็กทีอายุต่ำกว่า 13 ปี | มาตราฐานชุมชน สำหรับผู้ใช้งานที่อายุต่ำกว่า 13 ปี ต้องมีคำอธิบายว่าใช้งานยังไง มีข้อบังคับอะไร และอะไรควรทำ และไม่ควรทำ ระยะห่างในการใช้งาน |
ตัวอย่างลิงก์เต็มเพื่อดูข้อมูล http://illusion.in.th/privacy-policy-ipst/
เราควรต้องให้ผู้ใช้งานเรียนรู้จากเมนูต่าง ๆ ได้ง่าย หรืออาจจะใช้ iCon วางไว้ด้านหน้าด้วย เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น
หน้าวิธีการใช้งานส่วนใหญ่จะบอกผู้ใช้งานว่า แอปพลิเคชั่นของเรานั้นมีฟังชั่นอะไรบ้าง เล่น ฟังชั่นการหมุน ฟังชั่นการย่อขยาย หรืออื่น ๆ เพราะถ้าเราไมมีหน้าอธิบายผู้ใช้งานอาจจะไม่เข้าใจ
จะเห็นได้ว่า AR Code มีกับการศึกษามีฟังชั่นพื้นฐานหลายอย่างที่จำเป็น เพราะเราต้องเรียนรู้ จากพฤติกรรมของผู้ใช้งานเป็นหลัก และนำมาพัฒนาต่อยอดไปเรื่อย ๆ
ปรึกษาเรื่อง AR Code ได้ที่
โทร : 063789694 คุณโจ
E-mail illusion.thai@gmail.com
www.illusin.in.th